acne

สิวฮอร์โมนรักษายังไง มารับมือปัญหาผิวกับสิวฮอร์โมนใน 3 วิธี

July 8, 2021
สิวฮอร์โมนรักษายังไง

สิวฮอร์โมนเกิดขึ้นเมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนบางชนิดมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ต่อมน้ำมันในผิวหนังอุดตันและนำไปสู่การเกิดสิวได้ แล้ว สิวฮอร์โมนรักษายังไง มาดูวิธีดังต่อไปนี้

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นสิวฮอร์โมน?

สิวฮอร์โมน เป็นลักษณะของสิวที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกาย สิวประเภทนี้คือความแปรปรวนของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือ การที่มีฮอร์โมนเพศชายในสัดส่วนที่เยอะกว่าฮอร์โมนเพศหญิง สิวดังกล่าวมักเกิดตรงครึ่งล่างของใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณกรามหรือคาง บางทีก็ขึ้นบริเวณแผ่นหลัง เป็นสิวรูปแบบหนึ่งที่ทำให้เกิดสิวเรื้อรังและเกิดรากลึกลงไปในผิวหนังซึ่งสร้างความเสียหายได้มากกว่าสิวหัวขาวหรือสิวหัวดำแบบทั่ว ๆ ไป

ส่วนใหญ่สิวประเภทนี้มักจะเป็นในช่วงก่อนมีประจำเดือนในเพศหญิง ส่วนในเพศชายมักพบได้ทุกช่วงเริ่มต้นเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งโอกาสในการเป็นสิวฮอร์โมนมีมากกว่า 50% ที่เกิดขึ้นในผู้หญิงวัย 20 – 29 ปี และมีประมาณ 25% ในช่วงอายุ 40 – 49 ปี ที่สิวฮอร์โมนยังคงเกิดขึ้นอยู่ อาจมีการเกิดสิวขึ้นใหม่เรื่อย ๆ ในช่วงวัยหมดประจำเดือนอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของฮอร์โมนในร่างกาย ดูเหมือนว่าไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่สิวก็อาจทำลายวันดี ๆ ของคุณได้ และนี่คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าสิวของคุณเกี่ยวข้องกับความแปรปรวนของฮอร์โมน

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นสิวฮอร์โมน

  • ขึ้นบริเวณคางและกราม

ฮอร์โมนส่วนเกินในร่างกายมักไปกระตุ้นต่อมน้ำมันซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณคาง ต่อมน้ำมันส่วนเกินเหล่านี้ทำให้ผิวบริเวณดังกล่าวเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เกิดสิวชนิดนี้ แม้ว่าคางและกรามจะเป็นจุดที่พบได้บ่อยสำหรับการเป็นสิวฮอร์โมน แต่ก็อาจเกิดขึ้นที่ด้านข้างของใบหน้า ใต้แก้ม ตามลำคอ หรือ รอบริมฝีปากก็ได้

  • เป็นสิวเดือนละครั้ง

สิวฮอร์โมนมักปรากฏเป็นวัฏจักรเหมือนกับรอบเดือนของผู้หญิง แม้หมดประจำเดือนก็อาจเป็นสิวฮอร์โมนได้อยู่ ผู้หญิงวัยนี้ยังคงประสบกับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่ไม่สมดุลอยู่ แม้ว่าจะต่ำกว่าตอนก่อนหมดประจำเดือนก็ตาม สิวฮอร์โมนมักจะขึ้นที่เดิมทุกเดือนเช่นกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่รูขุมขนกว้างขึ้นจากการเป็นสิวครั้งก่อน หาก รูขุมขนกว้างทำไงให้ดูกระชับขึ้น

  • เครียดเกินไป

ยิ่งเครียด สิวยิ่งขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเครียดฮอร์โมนคอร์ติซอลจะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้น (คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด) การหลั่งของฮอร์โมนกระตุ้นให้ต่อมไขมันบนผิวหนังผลิตน้ำมันออกมากเกินไป ส่งผลต่อการทำงานของต่อมไขมันและอาจทำให้เกิดสิว หรือทำให้สิวที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น

ในการจัดการกับสิวฮอร์โมน สิ่งสำคัญคือต้องรักษากิจวัตรการดูแลผิวอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่รุนแรงหรือระคายเคือง และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล การใช้ยารักษาเฉพาะที่ที่มีเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ กรดซาลิไซลิก หรือน้ำมันทีทรีอาจช่วยได้ และการรักษาด้วยฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิดหรือสไปโรโนแลคโตนอาจกำหนดโดยแพทย์ผิวหนัง สิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงการแกะหรือบีบสิว เพราะอาจทำให้เกิดแผลเป็นและเกิดการอักเสบตามมาได้ ด้วยการจัดการที่เหมาะสม สิวฮอร์โมนสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเป็นสิวบนใบหน้า ห้ามแกะหรือบีบสิวโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดแผลเป็นและเกิดการอักเสบตามมาได้ หรือเป็นรอยดำที่รักษาได้ยาก ดังนั้น ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งนี้และค่ายหาวิธีรักษาสิวหรือจุดด่างดำอย่างถูกวิธี


นี่คือ 3 วิธีรักษาสิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมนเกิดจากความผันผวนของฮอร์โมนที่อาจทำให้ต่อมน้ำมันบนผิวหนังอุดตันจนเกิดเป็นสิวได้ แล้ว สิวฮอร์โมนรักษายังไง ? วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีรักษาสิวฮอร์โมนให้ได้ผล มีดังนี้

วิธีที่ 1 : การใช้ยาคุมกำเนิด / ยาคุมฮอร์โมน

ยาคุมกำเนิดนั้นมีหลายประเภท ซึ่งบางตัวยาในยาคุมสามารถทำงานร่วมกันเพื่อช่วยปรับระดับฮอร์โมนที่อาจทำให้เกิดสิวได้ อย่างไรก็ตาม หากต้องใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อรักษาสิวฮอร์โมน ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง เพราะสิวที่คุณเข้าใจว่าเป็นสิวฮอร์โมนบางทีอาจเกิดจากปัจจัยอื่น อย่าง การแพ้สารเคมี, ฝุ่นละออง, การมีสุขอนามัยที่ไม่ดี ซึ่งการใช้ยาคุมอาจไม่ได้ผล

วิธีที่ 2 : การใช้ยารักษาสิว

การใช้ยารักษาสิว เช่น เรตินอยด์, Benzoyl peroxide, AHA ช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวเก่าที่อุดตันรูขุมขน อย่างการใช้เรตินอยด์สามารถใช้รักษาสิวแบบระยะยาวได้ มันจะช่วยยับยั้งการอักเสบ ควบคุมการผลัดผิว และเพิ่มการผลิตคอลลาเจนและอีลาสตินให้แก่ผิว เรตินอยด์มีความเข้มข้นหลายระดับและมีข้อจำกัดในการใช้ เมื่อเริ่มใช้ครั้งแรกอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ผิวแห้ง แดง เป็นขุย จึงเป็นยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์เท่านั้น

3 วิธีรักษาสิวฮอร์โมน

วิธีที่ 3 : ล้างหน้าให้สะอาด

หากจำเป็นต้องแต่งหน้า การทำความสะอาด 2 ขั้นตอน เป็นสิ่งสำคัญมาก เริ่มต้นด้วยการเช็ดหน้าจากรีมูฟเวอร์สำหรับคนเป็นสิว เพื่อขจัดคราบเครื่องสำอาง สิ่งสกปรก ครีมกันแดด ฯลฯ จากนั้นจึงตามด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีฟองอ่อนโยนเพื่อให้แน่ใจว่าผิวจะสะอาดที่สุด อาจใช้ยาแต้มสิวที่มีส่วนผสมที่ช่วยให้สิวแห้ง ไม่จับแกะ ให้สิวอักเสบ หมั่นล้างหน้าให้สะอาดและถูกวิธี ดูแลไม่ให้เกิดสิวใหม่ แนะนำ 9 วิธีลดความมันบนใบหน้าป้องกันการเกิดสิว


วิธีป้องกันสิวฮอร์โมน

เพื่อป้องกันการเกิดสิวฮอร์โมน คุณสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. ขั้นตอนการดูแลผิวที่สม่ำเสมอ : ทำความสะอาดใบหน้าของคุณวันละสองครั้งด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่อ่อนโยนและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวของคุณเพื่อช่วยป้องกันการสะสมของน้ำมันส่วนเกิน

2. ใช้เครื่องสำอางที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน : เลือกผลิตภัณฑ์แต่งหน้าที่ระบุว่า “ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน” ผสมสารเคมีหรือแอลกอฮอล์ เพื่อหลีกเลี่ยงการอุดตันรูขุมขน

3. กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ : อาหารที่มีอาหารไม่ขัดสีสูง รวมทั้งผลไม้ ผัก โปรตีนไม่ติดมัน และไขมันดี สามารถช่วยควบคุมฮอร์โมนและลดการอักเสบได้

4. ออกกำลังกายเป็นประจำ : การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยลดความเครียดและปรับปรุงการควบคุมฮอร์โมน

5. จัดการกับความเครียด : ความเครียดสามารถกระตุ้นความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ส่งผลให้เกิดสิว ดังนั้นการหาวิธีจัดการความเครียดที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การทำสมาธิหรือการออกกำลังกายจะเป็นประโยชน์

6. หลีกเลี่ยงการแกะหรือบีบสิว : การแกะหรือบีบสิวอาจทำให้อักเสบและเกิดแผลเป็นมากขึ้นได้

7. ปรึกษาแพทย์ผิวหนัง : หากคุณประสบปัญหาสิวฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง แพทย์ผิวหนังสามารถช่วยแนะนำแผนการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อจัดการกับสิวของคุณได้ การรักษาด้วยฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิดหรือสไปโรโนแลคโตนอาจกำหนดในกรณีที่รุนแรง รู้จักกับ สิวสเตียรอยด์ รักษายังไงให้เร็วที่สุด

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าสิวฮอร์โมนสามารถคงอยู่และขึ้นมาใหม่ได้ตลอด อาจต้องใช้เวลาในการรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่าง ๆ เช่น เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ จัดการกับความเครียด หมั่นหาเวลาไปออกกำลังกาย เป็นต้น รวมถึงการปรึกษากับแพทย์ผิวหนังอาจเป็นประโยชน์ในการหาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับความต้องการของแต่ละบุคคล


อ้างอิง

You Might Also Like